รายละเอียดโครงการ Education ICT Forum 2020
หลักการและเหตุผล
บทบาทและความสำคัญของดิจิทัลเทคโนโลยี ได้เพิ่มทวีขึ้นและแทรกซึมสู่ทุกระบบงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำประโยชน์มาใช้ในแวดวงการศึกษายุคปัจจุบัน ซึ่งได้รับการกล่าวถึงในฐานะที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาในทุกด้าน ภายใต้บริบทแห่งความท้าทายใหม่ กฎระเบียบใหม่ของโลก ซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างไม่สามารถคาดการณ์ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งจะต้องมุ่งเน้นเรื่องการศึกษาแห่งอนาคต digital technology จะทวีพลังและบทบาทอย่างไร
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ในอุตสาหกรรมการศึกษาที่ต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันทางวิชาการ ท่ามกลางสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ทั้งในและนอกประเทศ นับวันทวีความรุนแรงมากขึ้น การดำรงคุณภาพความเป็นเลิศท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ และพลวัตโลกที่เปลี่ยนแปลงในระดับวินาทีนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญของการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยทั้งในยุคปัจจุบันและอนาคต ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจำเป็นและต้องถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ ตลอดจนการติดต่อสื่อสารทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับองค์กร และกับสถาบันเกี่ยวข้องอื่นในยุคที่โลกไร้พรมแดนอีกต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นเวทียกระดับการพัฒนาศักยภาพและเสริมเกราะให้ผู้เรียนมีความรู้/ทักษะในศตวรรษที่ 21 พร้อมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้รูปแบบใหม่
- เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิด ผลักดันให้ระบบอุดมศึกษาไทย สามารถเพิ่มคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เทียบเท่าระดับนานาชาติ/นานาชาติ สอดรับกับทิศทางของโลก
- เป็นเวทีแสดงนวัตกรรม digital technology เพื่อขับเคลื่อนความเป็น Smart Digital-Life และมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน เพื่อให้พร้อมรองรับการเดินหน้าประเทศไทยสู่ บริบทใหม่ในเวทีโลก
- เป็นศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยน ร่วมทรัพยากร digital technology ในการสร้างผลงานวิจัย/ผลงานสร้างสรรค์ ในการขยายผลการตอบประเด็นสังคม และ โจทย์หลักของประเทศ
ขอบเขต
- การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม อาจส่งผลถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและการค้าที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
- แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้ให้มีคุณภาพ “เท่าเทียมและทั่วถึง” ซึ่งมหาวิทยาลัยควรเข้าไปมีบทบาทและส่วนร่วมในการพัฒนา
- มหาวิทยาลัยควรเป็นแหล่งนวัตกรรมชั้นนำที่มุ่งสร้างสรรค์ความรู้และผลผลิตจากการศึกษาวิจัย ตลอดจนผลิตบัณฑิตที่เป็นนวัตกรในทางที่จะปรับเปลี่ยนสังคมไทยให้สามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าจากทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อนำประเทศออกจากกับดักรายได้ปานกลางและเป็นกำลังหลักในการร่วมสร้างสังคมที่มีการกระจายโอกาสที่เท่าเทียม เกื้อกูล และเคารพซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งมความเชื่อมโยงกับประชาคมโลกอย่างเต็มภาคภูมิ
ระยะเวลาในการจัดงาน
วันที่ 22-23 เมษายน พ.ศ. 2563
สถานที่การจัดงาน
ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ห้องวายุภักษ์ 2 ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
งบประมาณค่าใช้จ่าย
ค่าลงทะเบียนจากผู้เข้ารับการอบรม คนละ 5,900 บาท (ห้าพันเก้าร้อยบาทถ้วน) ถ้าหากลงทะเบียนก่อนวันที่ 3 เมษายน 2563 ท่านจะได้รับโปรโมชั่นพิเศษ ลงทะเบียน 2 ท่าน ราคา 7,900 บาท และค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการอบรม เช่น ค่ากระเป๋าและเอกสารในการอบรม ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง ค่าตอบแทนวิทยากร (ไม่รวมค่าที่พัก อาหารเช้า อาหารเย็น และค่าเดินทาง) โดยผู้เข้ารับการอบรมสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการศึกษาอบรมตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๒๘ (๑) และข้าราชการสามารถเบิกค่าลงทะเบียนตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมการจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ.๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
วิธีชําระค่าลงทะเบียน
กรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มการลงทะเบียน พร้อมแนบเอกสารการชําระเงิน (Pay in slip) ส่งกลับมาที่ 02-661-7757 (แฟกซ์อัตโนมัติ) หรือ อีเมล Pimphatsara@absolutealliances.com ;Tanya@absolutealliances.com
ชําระค่าลงทะเบียนโดยโอนเงินค่าลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนวันประชุมสัมมนาฯ เข้าชื่อบัญชี บริษัท แอ๊บโซลูทท์ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จํากัด
- ธนาคารกรุงไทย บัญชีออมทรัพย์ สาขาอาคารเสริมมิตร เลขที่บัญชี 085-0-12124-8
- ธนาคารกรุงเทพ บัญชีออมทรัพย์ สาขาถนนอโศกมนตรี เลขที่บัญชี 925-0-07304-7
- ธนาคารกสิกรไทย บัญชีออมทรัพย์ สาขา สุขุมวิท 33 (บางกะปิ) เลขที่บัญชี 003-2-42408-4
รับใบเสร็จรับเงินที่หน้างาน และกรุณานำใบหักภาษี ณ ที่จ่าย (ถ้ามี) มายื่น ณ จุดการเงินหน้างาน
หมายเหตุ: สามารถชําระค่าลงก่อนวันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2563 และการยกเลิกการลงทะเบียนจะสมบูรณ์ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น และทําการยกเลิกก่อน 7 วันทําการ ก่อนวันสัมมนา (ผู้ร่วมสัมมนาจะไม่ได้รับค่าลงทะเบียนคืนแต่คงสิทธิ์ที่จะได้รับกระเป๋าและเอกสารประกอบการสัมมนา)
รูปแบบการจัดงาน
- การสัมมนาวิชาการพร้อมรับฟังปาฐกถาพิเศษ
- การชมนิทรรศการในส่วนแสดงเทคโนโลยี ICT
- กิจกรรม Dean Forum Group การประชุมผู้บริหาร แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์และกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่สำคัญในการยกระดับการบริหารจัดการการศึกษา
- กิจกรรม Tech Start Up! Start Here! Session การบรรยายให้ความรู้สร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่ให้กลุ่มนักศึกษา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- สร้างคน Human Capital
- สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม Knowledge & Innovation
- สร้างเสริมสังคมไทย Local Transformation
- ก้าวไกลในสังคมโลก Global Benchmarking
กลุ่มเป้าหมาย
- มหาวิทยาลัยของรัฐ 12 สถาบัน
- มหาวิทยาลัยเอกชน 75 สถาบัน
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 สถาบัน
- สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 10 สถาบัน
- มหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ 23 สถาบัน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 สถาบัน
- โรงเรียนนายทหารและนายตํารวจ 4 สถาบัน
โครงสร้างการจัดงาน
เจ้าภาพร่วม โดย
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- สมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA)
- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ***
(***อยู่ระหว่างเรียนเชิญ***)
สนับสนุนการจัดงานโดย
- กระทรวงศึกษาธิการ ***
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์***
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี***
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ***
(***อยู่ระหว่างเรียนเชิญ***)
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ***
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์***
- มหาวิทยาลัยมหิดล ***
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ***
รายชื่อคณะกรรมการที่ปรึกษา
- คุณภุชพงค์ โนดไธสง
รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ประธานที่ปรึกษา) - นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์
อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา (รองประธานที่ปรึกษา) - ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์
ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กรรมการ) - นาวาอากาศเอก ศ.ดร.ประสงค์ ปราณีตพลกรัง
คณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ
อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (กรรมการ) - อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรรมการ)
- ผศ.ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์
รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ และวิทยาเขตกาญจนบุรีมหาวิทยาลัยมหิดล (กรรมการ) - อาจารย์ศุภวัฒน์ เจริญวิกรม
ผู้ช่วยคณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (กรรมการ) - รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ
อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กรรมการ) - อ.ดร.จอมขวัญ ผลภาษี
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (กรรมการ) - คุณกลินท์ สารสิน
ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (กรรมการ) - คุณสุพันธ์ มงคลสุธี
ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรรมการ) - คุณบุญรักษ์ สรัคคานนท์
กรรมการที่ปรึกษา (กรรมการ) - คุณดิลก คุณะดิลก
กรรมการที่ปรึกษา (กรรมการ)
- คุณภุชพงค์ โนดไธสง